
การถอนฟันนับเป็นวิธีในการรักษาสุขภาพช่องปากที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากทันตแพทย์ เพราะการถอนฟันนั้นมักจะมีความเสี่ยงสูง เพราะในช่องปากของเรานั้นมักจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย โอกาสที่จะติดเชื้อสูงอย่างมาก
ประกอบกับเนื้อเยื่อในช่องปากนั้นมีความบอกบาง และที่สำคัญเลยเป็นจุดเชื่อมต่อของระบบประสาท จึงทำให้ผู้ที่ต้องการขูดหินปูน หรือถอนฟันนั้น จะต้องได้รับการวินิจฉัยและพิจารณาจากทันตแพทย์อย่างแน่ชัด โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่ห้ามถอนฟัน
1. โรคที่ห้ามถอนฟัน มีกลุ่มโรคอะไรบ้าง ?

กลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก
- โรคลิวคีเมีย (โรคเกล็ดเลือดต่ำ)
- โรคไต และผู้ที่ต้องล้างไต
- ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- ผู้ที่ต้องทานยาละลายลิ่มเลือด
กลุ่มอาการที่แสดงในระหว่างการทำฟัน
- โรคหอบหืด
- โรคลมชัก
- โรคความดันสูง
- โรคหัวใจ
กลุ่มอาการที่ทำให้แผลหายยาก
- โรคเบาหวาน
2. คนเป็นโรคเบาหวานถอนฟันได้หรือไม่ ?

ซึ่งโรคเบาหวานนั้น มีสาเหตุที่เกิดนากความผิดปกติของตับอ่อน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสู่งกว่าปกติและเรื้อรัง ทำให้อินซูลินลดประสิทธิภาพในการทำงานลงโดยอาการนี้หากมีการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด อาจจะทำให้แผลหายช้า และติดเชื้อได้อย่างง่ายดาย
โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับน้ำตาลเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจจะเป็นอันตรายก็ได้ ดังนั้นทางทันตแพทย์ จะต้องให้ผู้ป่วยกลับไปปรับค่าน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ จึงจะสามารถทำการถอนฟันได้
อาการของโรคเบาหวาน
- ปัสสาวะบ่อยครั้ง
- คอแห้ง กระหายน้ำ
- หิวบ่อย รับประทานมากแต่น้ำหนักลด
- เกิดอาการอ่อนเพลีย
- บาดแผลหายช้า
- บริเวณช่องคลอดมีการติดเชื้อ
- ตาพร่ามัว
- ชาบริเวณปลายมือและเท้า
แต่อย่างไรก็ตามคนเป็นโรคเบาหวานถอนฟันได้เช่นกัน แต่ต้องให้ค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากผู้ป่วยมีใบรับรองแพทย์ว่าสามารถทำการถอนฟันได้ ก็สามารถยื่นให้กับทางคลินิกทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป
โดยรวมแล้วคนที่มีอาการเบาหวานสามารถทำการถอนฟันได้ตามปกติ หากมีค่าน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในระดับปกติ และมีการอนุมัติจากแพทย์ว่าสามารถทำได้ ส่วนผู้ที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ก็ควรที่จะพักรักษาตัว เพื่อให้ค่าน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ
3. คนที่มีความดันสูงห้ามถอนฟัน แต่ทำไมถึงทำได้ ?
หลายคนมักจะมองอยู่เสมอว่าคนที่มีความดันสูงห้ามถอนฟัน เพราะจะมองว่าการถอนฟันในขณะที่มีอาการดังกล่าวนั้นอาจจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้อาการความดันนั้นเกิดกำเริบขึ้นมากกว่าเดิม จึงทำให้หลายคนเกิดความกังวล
แต่อย่างไรก็ตามหากใครที่มีความดันในระหว่างการจัดฟัน ซึ่งมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและระมัดระวังเป็นอย่างดี ก็จะทำให้ผู้ป่วยหมดกังวลในการทำงาน แม้จะมีความดันสูงก็ตาม
4. ข้อควรรู้สำหรับผู้ที่มีความดันสูงในการถอดฟัน

ผู้ป่วยที่มีประวัติความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะต้องมีการวัดความดันเสียก่อน หากมีความดันส่วนบนสูงกว่า 160 mmHg และความดันล่างส่วนสูงกว่า 100 mmHg ทันตแพทย์จะส่งผู้ป่วยไปปรึกษาอายุรแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยปรับระดับความดันให้ปกติ
หลังจากที่มีการควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติแล้ว ทันตแพทย์จะต้องมีการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยก่อนการทำฟัน เพื่อคลายความกังวลและทำให้สบายใจ
เมื่อทำฟันแล้ว ทันตแพทย์จะคอยระมัดระวังอย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการทำฟัน เช่น ระวังไม่ให้เลือดออกมากจนเกินไป แต่หากระวังแล้วไม่ได้ผล ก็จะหยุดทำฟันสักพักเพื่อห้ามเลือด แต่ในกรณีนี้ทันตแพทย์จะหลีกเลี่ยงการใช้ยาเพื่อหดตัวของหลอดเลือด
ผู้ที่มีความดันสูง ไม่ควรเปลี่ยนอิริยาบถในขณะทำฟัน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ แต่ถ้าเกิดอาการทันตแพทย์ก็จะหยุดชั่วคราว แล้วให้ผู้ป่วยนอนราบ พร้อมกับดมแอมโมเนีย
หากผู้ป่วยเกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงหรือเฉียบพลัน ทันตแพทย์จะหยุดทำฟัน และจัดท่านอนราบในท่าที่สบาย คลายเสื้อผ้าออก เช็ดหน้าให้สดชื่น
5. ข้อห้ามในการถอนฟันมีอะไรบ้าง ?

- หลังถอนฟันเสร็จ ห้ามดูดแผล หรือเอานิ้ว วัสดุต่างๆ เขี่ยที่แผล เพราะจะเป็นการทำให้แผลอักเสบมากยิ่งขึ้น
- ห้ามบ้วนปากโดยใช้น้ำยา หรือบ้วนน้ำลายหลังจากทำการถอนฟันไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง
- ห้ามสูบบุหรี่ กินหมาก ดื่มสุรา ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการถอนหรือผ่าฟันออก
- ห้ามออกกำลังกาย ภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกมาก ควรจะพักภายใน 5-7 วัน ภายหลังการถอนฟัน
- ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาบ้วนปากแรงๆ หลังการถอนฟัน 3 วัน
ซึ่งการถอนฟันนั้น เป็นวิธีการรักษาสุขภาพในช่องปาก เพราะฟันบางซี่นั้นอาจจะมีผลกระทบต่อระบบประสาทของฟัน แต่อย่างไรก็ตามมักจะมีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการวินิจฉัยกับทันตแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะผู้ที่มีกลุ่มโรคดังกล่าวที่อาจจะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียดจากทันตแพทย์ก่อนการถอนฟัน